Healthy Organization
หน้าหลัก > รู้จักเครือข่ายฯ > แนะนำเครือข่ายคนไทยไร้พุง

แนะนำเครือข่ายคนไทยไร้พุง

โพสเมือ 2021-09-05 19:02:17 | หมวดหมู่ : รู้จักเครือข่ายฯ

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วโลก ปัญหาสุขภาพที่พบมีหลากหลาย ที่สำคัญทำให้เกิดโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลรักษาต่อเนื่อง ซึ่งมีผลต่อสมรรถภาพทางกาย และปัญหาสุขภาพจิต ความสามารถในการปฏิบัติงานด้อยลง มีความสิ้นเปลืองจากการรักษา เกิดความทุพลภาพหรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ประเทศชาติขาดกำลังบุคลากรที่เป็นพลังขับเคลื่อนความก้าวหน้า และสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจ

 

เครือข่ายคนไทยไร้พุง มีจุดกำเนิดจากแนวคิดของแพทย์ที่ลุกขึ้นมารณรงค์ในเรื่อง Prevention & Health Promotion แทนแนวคิดเดิมที่มุ่งรักษาทาง Clinic เครือข่ายประกอบด้วย 5 องค์กรหลัก ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 23 ธันวาคม 2549 มีภารกิจกำหนดแนวทางและมาตรการ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการควบคุมไม่ให้เกิดโรคอ้วนลงพุง โดยอิงหลักวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัย เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม  

 

 

คณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ดังรายนามต่อไปนี้

 

ที่ปรึกษา
1. ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
2. อธิบดีกรมอนามัย
3. อ.ดร.สง่า ดามาพงษ์


ประธาน
ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์


รองประธาน
1. พล.ต.หญิง ศ.คลินิก พญ.อัมพา สุทธิจำรูญ
2. รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์


กรรมการ
1. ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
2. ดร.พญ.สายพิณ โชติวิเชียร
3. ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร
4. พญ.จุรีพร คงประเสริฐ
5. รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ
6. นางวสุนธรี เสรีสุชาติ
7. พ.ต.รศ.ดร.รุ่งชัย ชวนไชยะกูล
8. ดร.ชลชัย อานามนารถ
9. นพ.ยงเกษม วรเศรษฐการกิจ
10. รศ.พิมพ์ใจ อันทานนท์
11. พญ.ปวีณา ชุณหโรจน์ฤทธิ์
12. นพ.ชัยวัฒน์ วชิรศักดิ์ศิริ


กรรมการและเลขานุการ

ศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์ ศรินนภากร

 

โดยมีหน้าที่
1. ผลักดันและขับเคลื่อนการสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค ในนามของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ โดยประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข องค์กรภาครัฐ องค์กรอิสระ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
2. สร้างองค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ แนวทาง วิธีการ และกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งเผยแพร่ กระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติในวงกว้าง
3. ชี้นำด้านนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคไม่ติดค่อเรื้อรัง ในพื้นที่ และระดับชาติ